การตรวจสอบระบบไฟฟ้าปัจจุบันเป็นการกำหนดของกฎหมายให้มีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในสถานประกอบกิจการ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าปัจจุบันนี้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบที่จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในบทความนี้จะสรุปถึงความสำคัญในเรื่องต่างๆที่จะต้องรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าเพื่อให้ผู้อ่านสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
ทำไมถึงต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ช่วยลดการเกิดระบบไฟฟ้าขัดข้องกระทันหัน (breakdown)
สร้างความมั่นใจให้กับพนักงานในองค์กรที่ปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้า
ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ
ได้ทราบถึงข้อบกพร่องของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าก่อนที่จะเกิดการชำรุด หรือ อุบัติเหตุ
ลดการเกิดอุบัติเหตุและการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
การตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีผลกับประกันภัยอุบัติเหตุที่สถานประกอบการได้ทำเอาไว้ หากไม่ทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามกฎหมายหากเกิดเหตุไฟไหม้หรืออุบัติเหตุเสียหายบริษัทประกันภัยอาจจะมีสิทธิ์ที่จะไม่ชดเชยให้กับเราได้เช่นกัน
ช่วยให้เรารู้ถึงแนวโน้มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่เสื่อมสภาพและสามารถวางแผนบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า (PM) ประจำปีได้
ใครคือผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ปัจจุบันคนที่จะทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามกฎหมายรับรองได้จะแบ่งเป็น 2 แบบ
ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าแบบบุคคล (มาตรา 9)
ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าแบบนิติบุคคล (มาตรา 11)
ทั้ง 2 แบบนั้นจะต้องได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนผู้ตรวจและรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า ตามมาตรา 9 และมาตรา 11 กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินการตรวจสอบระบบไฟฟ้าได้ หากวิศวกร หรือ นิติบุคคลใดยังไม่มีเลขทะเบียนจะไม่สามารถตรวจสอบและให้บริการได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าหรือใช้บริการนิติบุคคลจากภายนอกควรทำการตรวจสอบเลขทะเบียนดังกล่าวให้แน่ใจเสียก่อน
เราควรเลือกนิติบุคคลที่ให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าจากอะไรบ้าง
ข้อควรพิจารณาแนะนำเลือกผู้รับเหมาหรือให้บริการตรวจระบบไฟฟ้า บริษัท หรือ โรงงานส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการแบบนิติบุคคลมาตรา 11 มากกว่าใช้บริการแบบบุคคล เนื่องจาก แบบนิติบุคคลหากเกิดปัญหาหลังบริการ หรือการรับประกันจะมีความพร้อมมากกว่าแบบบุคคล นิติบุคคลมีระบบมาตรฐานการรับรองคุณภาพการบริการ เช่น ISO 9001 สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอนว่ามีมาตรฐานในทุกๆด้าน ซึ่งแบบบุคคลจะไม่มีการรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9001 ในภาพรวมองค์กรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้ากับนิติบุคคลที่ให้บริการมากกว่า แบบบุคคล นั้นเอง
ข้อพิจารณาใช้บริการแบบบุคคล ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ผู้รับเหมาแบบบุคคลมีโอกาสทิ้งงานมากกว่าแบบนิติบุคคล หรือไม่
การรับประกันหลังการขายที่มีข้อจำกัด เนื่องจากใช้งบส่วนตัว หรือไม่
เครื่องมือการทำงานมีใบสอบเทียบ ตาม ISO 17025 หรือไม่
ติดต่อยากหลังใช้บริการไปแล้ว หรือไม่
บุคคลกรในทีมมีจำกัด หรือไม่
มีการกำหนดวิธีการตรวจสอบ และ ขั้นตอนการทำงานตามมาตรฐาน (WI) หรือไม่ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้เป็นข้อที่ผู้ว่าจ้างจะต้องพิจารณาก่อนใช้บริการเสมอเพื่อป้องกันปัญหาตามมาทีหลัง
ความถี่การตรวจสอบระบบไฟฟ้า
การตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะต้องทำการตรวจสอบทุก 1 ปี และจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบ และรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามกฎหมายกรมสวัสดิการฯ มีข้อแนะนำเกี่ยวกับความถี่ของการตรวจสอบนอกเหนือจากการตรวจสอบประจำปีแล้ว หากมีอุบัติเหตุร้ายแรงหรือการชำรุดของอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบไฟฟ้าเราควรทำการตรวจสอบด้วยเช่นกันเพื่อให้แน่ใจว่ากลังจากการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วระบบไฟฟ้าของเราสามารถกลับมาพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยทั้งระบบ
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตรวจอะไรบ้าง
- ตู้เมน สวิตช์
- จุดต่อสายและจุดต่อบัสบาร์
- (Single Line Diagram) ของเมนสวิตช์
- เครื่องป้องกันกระแสเกิน
- สายดินของแผงสวิตช์
- อุณหภูมิของอุปกรณ์
- สภาพของจุดสายต่อ
- การต่อลงดิน
- การติดตั้งเครื่องปลดวงจรต้นทาง
- ดรอปฟิวส์คัทเอ้าท์
- สวิตช์ตัดตอน (Disconnecting Switch)
- RMU
- แรงสูง
- สายอากาศ
- สภาพเสา
- การประกอบอุปกรณ์หัวเสา
- สายยึดโยง (Guy Wire)
- การติดตั้งล่อฟ้า
- สภาพของจุดสายต่อ
- การต่อลงดิน
- แรงต่ำภายในอาคาร
- วงจรเมน (Main Circuit)
- สายเข้าเมนสวิตช์
- รางเดินสายและรางเคเบิล
- สภาพฉนวนสายไฟ
- สภาพจุดต่อของสายไฟ
- การป้องกันความร้อนเหนี่ยวนำ
- อุณหภูมิของอุปกรณ์
- หม้อแปลง
- เครื่องป้องกันกระแสเกินด้านไฟเข้า
- การต่อสายแรงต่ำและแรงสูงที่หม้อแปลง
- การติดตั้งล่อฟ้าแรงสูง
- การติดตั้งดรอปฟิวส์คัตเอาท์
- การป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า
- สายดินกับตัวถังหม้อแปลงและล่อฟ้า แรงสูง
- สายดินของหม้อแปลง
- สภาพหม้อแปลงภายนอก
- อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
อุปกรณ์ที่ใช้การตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะต้องมีมาตรฐานรับรองทุกชิ้น อุปกรณ์หลักๆที่ใช้ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีดังนี้ - แคล้มป์มิเตอร์ ดิจิตอล
- มัลติมิเตอร์ดิจิตอล
- เครื่องเทอร์โมสแกน
- เครื่องวัดกราวด์ ดิจิตอล
- เครื่องวัดโวลต์
- เครื่องวัดเต้ารับ
- แคล้มป์มิเตอร์วัดความต้านทาน
สรุป : หากเราจ้างนิติบุคคลจากภายนอกมาตรวจสอบ ควรดูด้วยว่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นมีการสอบเทียบ (Calibration) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 หรือไม่ โดยส่วนใหญ่นิติบุคคลผู้ให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่มีมาตรฐานจะมีเอกสารรับรองเครื่องมืออุปกรณ์เหล่านี้ หากเราจ้างบริษัทผู้รับเหมาราคาถูกอาจได้การตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่คุ้มค่ากับอุบัติเหตุต่างๆที่ตามมาอย่างแน่นอน